การชุบฮาร์ดโครม
เมื่อชิ้นส่วนเครื่องจักรเริ่มมีการสึกกร่อนหรือเกิดรอยแตกขึ้น ผู้เป็นเจ้าของจำนวนไม่น้อย ที่ตัดสินใจปลดมันออกจากหน้าที่และหาซื้อชิ้นส่วนตัวใหม่มาแทน ซึ่งทุกคนต่างก็ทราบดีว่าการหยุดเครื่อง เพื่อรออะไหล่ตัวใหม่มาเปลี่ยนนั้น ทำให้เกิดการสูญเสียทางการผลิต ซึ่งแน่นอนว่าต้องกระทบถึงผลกำไรที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อเป็นการประหยัดทั้งเงินและเวลา “การชุบฮาร์ดโครม” จึงเป็นทางออกที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยลดเงินและเวลาที่ต้องหมดไปกับการรอชิ้นส่วนใหม่แล้ว ประสิทธิภาพการทำงานของชิ้นส่วนที่ผ่านการชุบฮาร์ดโครมยังดีเยี่ยมไม่แตกต่างจากของใหม่อีกด้วย
การชุบฮาร์ดโครม เป็นวิธีการเคลือบเชิงไฟฟ้า (Electrolytic Deposition) โดยใช้โครเมียม ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะกับงานเชิงวิศวกรรม วัตถุที่นิยมนำมาชุบส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กกล้าชุบแข็ง การชุบฮาร์ดโครมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ การชุบอย่างบางและการชุบหนา “การชุบอย่างบาง” เป็นการชุบเพื่อยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ที่มักใช้ในงานที่มีอัตราความเสี่ยงต่อการสึกกร่อนสูง หรืองานที่อยู่ในสภาพที่มีการกัดกร่อนทางเคมี สำหรับ “การชุบหนา” เป็นการชุบเพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนอะไหล่ที่ชำรุดเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม ตัวอย่างชิ้นส่วนที่นำมาชุบฮาร์ดโครม เช่น กระบอกสูบไฮดรอลิก (Hydraulic cylinder) ด้ามลูกสูบ (Pump shafts) ลูกกลิ้ง (Rollers) วงแหวนลูกสูบ (Piston ring) ผิวด้านนอกเบ้าหล่อ (Mold surfaces) แม่พิมพ์ตอกโลหะ (Dies) ตะปูควง (Screws) และลำกล้องปืน (Gun bores) เป็นต้น
คุณสมบัติ
• ค่าความแข็งสูง (High Hardness)
• ต้านทานการสึกกร่อนได้ดี (Good Wear Resistance)
• ต้านทานการกัดกร่อนจากสารเคมีได้ดี (Good Corrosion Resistance)
• สัมประสิทธิ์การเสียดทานต่ำ (Low Coefficient of Friction)
• ใช้อุณหภูมิในการซ่อมแซมต่ำ (Low Temperature Treatment )
คุณสมบัติทางกายภาพ
• ค่าความหนาแน่น: 7.1 kg/dm3
• เลขอะตอม: 24
• ลักษณะการจับตัวของผลึก: Body Centre Cubic
• ค่าความแข็ง: 850-1050 HV or 65-70 Rockwell C
• จุดหลอมเหลว: 1890 องศาC
• สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน: 6 x 10
• สัมประสิทธิ์ความต้านทาน: 13 Micro hms/cm
• การนำความร้อน: 0.67 W/cm oK
• ความต้านทานไฟฟ้า: 13-66 Micro hm/cm
การใช้งาน
จากคุณสมบัติเหล่านี้ การชุบฮาร์ดโครมจึงเป็นวิธีการแก้ปัญหาข้อยุ่งยากต่างๆ ทางวิศวกรรมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิตนม อุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันพืช อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ และอุตสาหกรรมน้ำตาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น