Antistatic agent (สารป้องกันไฟฟ้าสถิต)
สารป้องกันไฟฟ้าสถิต คือ สารที่เติมลงไปในยางเพื่อช่วยลดการสะสมของประจุไฟฟ้าบนผิวยาง เช่น เขม่าดำเกรดที่นำไฟฟ้าได้ดี (Conductive black) เกลือของแอมโมเนียม เป็นต้น
Pigment (ผงสี)
ผงสี เป็นสารให้สีที่ไม่ละลายในยาง เติมลงไปในยางที่ไม่มีผงเขม่าดำเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์ยางที่ได้มีสีสันตามความต้องการของผู้ผลิต แ่บ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ผงสีอินทรีย์ และผงสีอนินทรีย์
Antifoaming agent (สารลดฟอง)
สารลดฟองเป็นสารที่เติมลงในน้ำยางเพื่อป้องกันการเกิดฟองในน้ำยางผสม ซึ่งอาจเป็นสาเหตุในการเกิดฟองหรือเกิดรูเข็มได้ในผลิตภัณฑ์
Kicker (คิกเกอร์)
คิกเกอร์ คือ สารกระตุ้นหรือสารตัวเร่งการเกิดเป็นฟอง ทำหน้าที่ลดอุณหภูมิการสลายตัวของสารที่ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้เกิดปฏิิกิริยาการเกิดฟองได้เร็วขึ้น มักใช้คู่กับสารทำให้เกิดฟอง ตัวอย่างของคิกเกอร์ ได้แก่ ซิงค์ออกไซด์ เกลือของซิงค์ เป็นต
Blowing agent (สารทำให้เกิดฟอง)
สารทำให้เกิดฟอง คือ สารที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิห้อง แต่จะสลายตัวที่อุณหภูมิสูงและปล่อยก๊าซออกมา โดยการเกิดปฏิิกิริยาเคมีและ/หรือปฏิกิริยาทางความร้อน ทำให้เกิดช่องว่างหรือรูพรุนขึ้นในผลิตภัณฑ์ เช่น การผลิตยางฟองน้ำ (Sponge)
Flame retardant/Flame retarder (สารหน่วง/ป้องกันการติดไฟ)
สารที่เติมลงไปเพื่อช่วยในการหน่วงการติดไฟ โดยสารนี้จะสลายตัวให้แก๊สหรือสารที่ไม่ติดไฟเมื่อได้รับความร้อน ตัวอย่างสารหน่วงการติดไฟ เช่น แอนติโมนีไตรออกไซด์ อะลูมินัมไทรไฮเดรต เป็นต้น
Stabilizer (สเตบิไลเซอร์)
(ยาง) สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่มีอยู่หรือเติมลงไปในยางดิบ เพื่อรักษาสมบัติให้ดีเท่าหรือใกล้เีีคียงค่าเดิมระหว่างการทำให้แห้ง กระบวนการผลิตและการเก็บรักษา
(น้ำยาง) สเตบิไลเซอร์ คือ สารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเติมลงไปในน้ำยางเพื่อป้องกันการรวมตัวหรือจับตัวเป็นก้อนของอนุภาคยางระหว่างกระบวนการผลิตและ/หรือการผสมสารเคมี
Tackifier (สารทำให้ยางเหนียวติดกััน)
สารทำให้ยางเหนียวติดกัน เป็นสารเคมีที่เติมลงในยางทำให้ยางมีความเหนียวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ยางสามารถติดกับยางด้วยกัน หรือติดกับวัสดุอื่นได้ดียิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการนำยางส่วนต่างๆ มาประกอบกันได้่ง่ายขึ้น
Factice (แฟกทิซ)
แฟกทิซ เป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวได้จากปฏิกิริยาคงรูปของน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ โดยใช้กำมะถันหรือสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เมื่อเติมเข้าไปในยางจะช่วยประหยัดพลังงานในการผสม ช่วยเพิ่มความเสถียรทางรูปร่างให้แก่ยางที่ขึ้นรูปด้วยการอัดผ่านดาย (Extrudate) และมีผิวเรียบมากขึ้น
Peptizer (เพปไทเซอร์)
เพปไทเซอร์ คือ สารช่วยในกระบวนการผลิตที่เติมลงไปในยางเพื่อลดความหนืดของยาง โดยการย่อยหรือตัดโมเลกุลของยางโดยทางเคมี (chemical scission) ในขั้นตอนการบดยาง (mastication) ช่วยลดเวลาในการบดยางและทำให้ประหยัดพลังงานในกระบวนการผสมมากขึ้น
Softener (สารทำให้นิ่ม)
สารทำให้นิ่ม คือ สารปริมาณเล็กน้อย ที่เติมลงไปในยาง เพื่อลดความหนืดของยางลง ทำให้ยางไหลได้ง่ายขึ้น ทำให้สารเติมแต่งกระจายตัวได้ดีขึ้น
Processing Aid (สารช่วยในกระบวนการผลิต)
สารช่วยในกระบวนการผลิต คือ สารที่เติมลงไปในยางเพื่อช่วยให้กระบวนการผลิตในขั้นตอนต่างๆ เช่น การผสม (mixing) หรือการขึ้นรูป (shape forming) เป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น สารบางตัวในกลุ่มนี้ช่วยลดความหนืดของยางคอมพาวด์ ทำให้ยางไหลได้ง่ายยิ่งขึ้น จึงลดระยะเวลาและพลังงานที่ใช้ในการผลิต
Plasticiser/Plasticizer (พลาสติไซเซอร์)
พลาสติไซเซอร์ คือ สารที่เติมลงไปในยางเพื่อเพิ่มความสามารถในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ดียิ่งขึ้น ลดความแข็งเปราะ เพิ่มสมบัติการใ้ช้งานที่อุณหภูมิต่ำได้ดีขึ้น
Antiozonant (สารป้องกันการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน)
สารป้องกันการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากโอโซน คือ สารเคมีที่เติมลงไปในยางเื่พื่อป้องกันหรือลดการเกิดรอยแตกของยางจากการเกิดปฏิกิริยาของโอโซนกับยางเมื่อยู่ภายใต้ความเครียด
Antioxidant (สารป้องกันการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน)
สารป้องกันการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน คือ สารเคมีที่เติมลงไปในยางเื่พื่อจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาของออกซิเจนในอากาศกับยาง (ที่มีพันธะคู่) หรือทำให้ไฮโดรเปอร์ออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาแตกตัวต่อไปเป็นส่วนที่ไม่เป็นอันตรายต่อการเสื่อมสภาพของยาง ทำให้ยางมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้น
Antidegradant (สารป้องกันการเสื่อมสภาพ)
สาร ป้องกันการเสื่อมสภาพคือสารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อลดอัตราเร็วในการเสื่อม สภาพของยางอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ออกซิเจน ความร้อน แสงแดด และโอโซน เป็นต้น ทั้งนี้เพราะยางส่วนใหญ่ไม่ทนความร้อนและเสื่อมสภาพได้ง่า
Retarder (สารหน่วงปฏิกิริยา)
สารหน่วงปฏิกิริยาคือสารเคมีซึ่งลดอัตราเร็วการเกิดปฏิกิริยาเคมี เมื่อนำมาใส่ในยางจะช่วยเพิ่มระยะเวลาก่อนที่ยางจะเริ่มเกิดปฏิกิริยาคงรูป ช่วยลดโอกาสที่จะทำการเกิดยางตายได้
Activator (สารกระตุ้นปฏิกิริยา)
สารกระตุ้น ปฏิกิริยาเป็นสารเคมีหรือส่วนผสมของสารเคมี ทำหน้าที่เพิ่มประสิทธิภาพ การทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยาให้สามารถเกิดปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น ตัวอย่างของสารกระตุ้น ปฏิกิริยาที่ใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมยาง ได้แก่ ซิงค์ออกไซด์ และ กรดสเตียริก
Accelerator (สารเร่งปฏิกิริยาหรือสารเร่งให้ยางคงรูป)
สารเร่งปฏิกิริยาหรือสารเร่งให้ยางคงรูปคือสารเคมีที่เติมลงไปในยางในปริมาณเล็กน้อยเพื่อลดเวลาที่จะทำให้ยางคงรูป โดยการเร่งอัตราการเกิดปฏิกิริยาให้ยางคงรูปเร็วขึ้น
Additives (สารเติมแต่ง)
สารเติมแต่งเป็นสารเคมีที่เติมเข้าไปในยางเพียงเล็กน้อยเพื่อปรับปรุงสมบัติต่างๆ ตามต้องการ มีหลายประเภท เช่น สารกันออกซิเดชัน สารกันไฟฟ้าสถิต สารเพิ่มสี และสารหน่วงการติดไฟ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น