การเขียนแบบ (drawing)
การเขียนแบบ (mechanical drawing) คือ การเขียนที่แสดงเป็นภาพ รูปร่าง สัญลักษณ์ และรายละเอียดของแบบที่ออกไว้ เพื่อให้นำไปสร้างเป็นของจริงได้ ในการเขียนแบบจะต้องมีความรู้ในสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. เครื่องมือเขียนแบบ เครื่องมือเขียนแบบที่จำเป็นมีดังนี้
1.1 ดินสอเขียนแบบ (drawing pencil)
1.2 ปากกาเขียนแบบ (drawing pen)
1.3 ไม้บรรทัดโปรแทรคเตอร์ (protractor)
1.4 ไม้บรรทัดสเกลแบบสามเหลี่ยม (scale)
1.5 ไม้ฉากสามเหลี่ยมเป็นชุด (set-square)
1.6 ไม้ฉากรูปตัวที (T-square)
1.7 วงเวียน (compass) ฯลฯ
2. ลักษณะเส้นที่ใช้ในการเขียนแบบ มีดังต่อไปนี้
2.1 เส้นร่าง (rayout or guideline) เป็นเส้นที่ใช้ร่างภาพหรือเส้นบรรทัดเป็นเส้นเบาและแคบ
2.2 เส้นแสดงรูปวัตถุ (object line) เป็นเส้นหนักและใหญ่ ใช้แสดงขอบของรูป
2.3 เส้นแสดงส่วนที่บัง (hidden line) เป็นเส้นประ เส้นหนาปานกลาง แสดงตรงส่วนที่ถูกบัง
2.4 เส้นโยงขนาดและเส้นบอกขนาด (extension and dimension line) เส้นโยงขนาดใช้โยงขนาดขอบรูปวัตถุเพื่อแสดงรายละเอียดของขนาด ส่วนเส้นบอกขนาดเป็นเส้นแสดงความกว้างยาวของขนาดวัตถุ โดยโยงจากขอบวัตถุด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เป็นเส้นที่หนักและแคบ
2.5 เส้นกรอบภาพ (border line) เป็นเส้นใหญ่และหนัก ใช้ตีกรอบงานเขียนแบบ
3. มาตราส่วนในการเขียนแบบ
ใช้สำหรับย่อส่วนหรือขยายส่วนจากของจริง เช่น การเขียนแบบก่อสร้างอาคาร ใช้มาตราส่วน 1 : 100 ก็คือ ในแบบ 1 ส่วน ของจริงจะเท่ากับ 100 ส่วน ถ้าประตูในแบบกำหนดไว้ 2ซม. ประตูจริงจะเท่ากับ 200 ซม. หรือ 2 เมตร เป็นต้น
4. การเขียนแบบสำหรับงานออกแบบ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ
4.1 การเขียนแบบภาพฉาย (orthographic projection) เป็นการเขียนแบบเพื่อแยกรูปวัตถุออกเป็นภาพด้านบน (top view or plan) ภาพด้านหน้า (front view) และภาพด้านข้าง (side view or side elevation)
4.2 การเขียนแบบภาพแสดง (pictorial drawing) เป็นการเขียนแบบเพื่อแสดงรูปวัตถุในลักษณะ 3 มิติ ซึ่งแยกออกได้เป็น 5 แบบ คือ
4.2.1 แบบไอโซเมตริค (isometric) เป็นแบบที่มีมุม 30 องศา เท่ากันทั้ง 2 ข้าง
4.2.2 แบบไดเมตริค (dimetric) เป็นแบบที่มีมุม 15 องศา เท่ากันทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้เห็นเป็นมุมที่ชันน้อยลง
4.2.3 แบบไทรเมตริค (trimetric) เป็นแบบที่มีมุม 15 องศา ข้างหนึ่ง และมุม 45 องศาอีกข้างหนึ่ง เพื่อแสดงให้รู้ว่าด้านทั้งสองมีความสำคัญไม่เท่ากัน
4.2.4 แบบออบบลิค (oblique) เป็นแบบที่ต้องการเน้นด้านหน้ามากกว่าด้านข้าง จะมีมุมเอียงเฉพาะด้านข้างเท่านั้น แบบออบบลิคยังแยกออกเป็น 2 แบบ คือ
4.2.4.1 แบบออบบลิคคาวาเลีย (cavalier)ซึ่งเขียนให้ด้านหน้าขนาน ด้านข้างเอียงเป็นมุมไม่ตายตัว เช่น 15 องศา 30 องศา หรือ 45 องศา เพื่อให้ใช้ไม้ฉากสามเหลี่ยมได้สะดวก ด้านหน้าและด้านข้างใช้สเกลจริง
4.2.4.2 แบบออบบลิคคาบิเนท (cabinet) ซึ่งมีด้านหน้าขนาน ด้านข้างเป็นมุม 15 องศา , 30 องศา หรือ 45 องศา เช่นเดียวกัน แต่ด้านข้างจะกว้างเพียงครึ่งหนึ่งของของจริง ทั้งนี้เพราะด้านข้างของวัตถุบางอย่างไม่มีรายละเอียดที่ต้องการแสดง เช่น ด้านข้างของตู้ เป็นต้น
4.2.5 แบบทัศนียภาพหรือแบบเพอร์สเปคตีฟ (perspective) เป็นการเขียนแบบวัตถุให้เหมือนกับตาเห็นจริงๆ เช่น วัตถุที่สูงเท่ากันเมื่อดูระยะใกล้จะสูง แต่เมื่อดูระยะไกลจะเตี้ยลง เป็นต้น แบบทันียภาพยังแบ่งออกได้ 3 ลักษณะ คือ
4.2.5.1 ทัศนียภาพจุดเดียว (one-point perspective) แสดงด้านหน้าตรง ด้านอื่นๆ จะเล็กเรียวลงไปสู่จุดสุดสายตา
4.2.5.2 ทัศนียภาพสองจุด (two-point perspective) แสดงให้เห็นมุมที่อยู่ใกล้ที่สุดมีความใหญ่ที่สุด และสองด้านที่ประชิดกันเป็นคู่ๆ สามคู่จะเล็กเรียงลงไปสู่จุดสุดสายตาทั้งสามจุด 4.2.5.3ทัศนียภาพสามจุด (three-point perspective) แสดงให้เห็นมุมที่อยู่ใกล้ที่สุดมีความใหญ่ที่สุด และสองด้านที่ประชิดกันเป็นคู่ๆ สามคู่จะเล็กเรียวลงไปสู่จุดสุดสายตาทั้งสามจุด
4.2.5.3ทัศนียภาพสามจุด (three-point perspective) แสดงให้เห็นมุมที่อยู่ใกล้ที่สุดมีความใหญ่ที่สุด และสองด้านที่ประชิดกันเป็นคู่ๆ สามคู่จะเล็กเรียวลงไปสู่จุดสุดสายตาทั้งสามจุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น