การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break – Even Analysis)
ความหมายของจุดคุ้มทุน การหาจุดคุ้มทุน เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณการขายหรือยอดขายที่กิจการจะสามารถทำธุรกิจโดยไม่ขาดทุนและไม่ได้กำไร ดังนั้น จุดคุ้มทุน (Break – Even Point) จึงหมายถึง จุดที่กิจการจะมีรายได้รวม (TR) เท่ากับต้นทุนรวม (TC) พอดี หรือกิจการไม่ได้กำไร แต่ก็ไม่ขาดทุน
การหาจุดคุ้มทุน
การคำนวณจุดคุ้มทุน สามารถหาได้โดยสูตร ดังนี้
ตัวอย่าง นักศึกษาสาขาการตลาดวิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ต้องการจัดการดนตรีการกุศลเพื่อหารายได้ช่วยเหลือนักศึกษาที่ประสบภัยน้ำท่วม จากการสอบถามข้อมูลแล้วมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ ค่าเช่าสถานที่จัดงาน 20,000 บาท ค่าวงดนตรี 30,000 บาท ค่าพิมพ์บัตรใบละ 5 บาท ค่าเช่าเก้าอี้ตัวละ 15 บาท ค่าจ้างจัดตกแต่งแต่งสถานที่จัดเวทีอีก 5 ,000 บาท , ค่าเบี้ยเลี้ยงตำรวจเฝ้ารักษาความปลอดภัย2 คน ๆ ละ 250 บาท นักศึกษากลุ่มดังกล่าวต้องตอบโจทย์ดังต่อไปนี้
1. หากตั้งราคาบัตรใบละ 120 บาท จะต้องจำหน่ายได้กี่ใบจึงจะคุ้มทุน
2. ถ้าสามารถจำหน่ายได้ 1000 ใบ จะได้กำไรหรือขาดทุนกี่บาท
3. หากตั้งเป้าตัวเลขกำไรจากการจัดงานไว้ที่ 50,000 บาท ต้องจำหน่ายบัตรให้ได้กี่ใบ
ภาพที่ 12.10 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break – Even Analysis)
ภาพที่ 12.11 ความหมายจุดคุ้มทุน
ดังนั้น ถ้าตั้งราคาจำหน่ายบัตรใบละ 120 บาท จะต้องจำหน่ายให้ได้ 555 ใบ จึงจะคุ้มทุน หรือต้องจำหน่ายให้ได้ 66,600 บาท ( 120 * 555) จึงจะคุ้มทุน
(จำนวนบัตรที่จำหน่ายได้ - จุดคุ้มทุน) * (ราคาขาย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) = กำไรหรือขาดทุน
ภาพที่ 12.12 การคำนวณจุดคุ้มทุน
ภาพที่ 12.13 ประโยชน์จุดคุ้มทุน
ประโยชน์ของจุดคุ้มทุน
แม้จุดคุ้มทุนจะเป็นจุดที่บอกปริมาณหน่วยการจำหน่ายที่ไม่ทำให้กิจการขาดทุน แต่การทราบจุดคุ้มทุนที่เป็นหน่วยสามารถนำไปสู่การหาจุดคุ้มทุนที่เป็นจำนวนเงินได้ โดยการคูณด้วยราคาขายต่อหน่วยของสินค้า การหาจุดคุ้มทุนยังมีประโยชน์อีกหลายประการดังนี้
1. สามารถวางแผนการจำหน่ายสินค้าได้
2. นำไปใช้วางแผนในการกำหนดราคาสินค้าได้
3. สามารถคำณวนกำไรที่จะได้รับในแต่ละวัน (ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก) ได้อย่างรวดเร็ว
4. ช่วยในการตัดสินใจกำหนดราคาหลังจากยอดจำหน่ายผ่านจุดคุ้มทุนแล้ว
5. ช่วยตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจหรือไม่ดำเนินธุรกิจใดๆ ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น