การเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิต
บริษัทจะปรับปรุงระบบการทำงานใหม่ โดยจะนำแนวความคิด เพื่อ การเพิ่มผลผลิต มาใช้
ความหมายของการเพิ่มผลผลิต หรือ Productivity มี 2 แนวคิด คือ
1.แนวคิดในเชิงเทคนิค หมาย ถึงการทำงานหรือดำเนินกิจกรรมต่างๆ ด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าสูงสุด ทั้ง คน เวลา และเครื่องจักร-อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตระหนักเสมอว่าทำสิ่งที่ถูกต้อง (right thing) ด้วยวิธีการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ (rightly) ตั้งแต่ครั้งแรกเพื่อลดความสูญเสีย
สำหรับแนวคิดที่ 2. แนวคิดด้านปรัชญา หมายถึงจิตสำนึกใน การปรับปรุง สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ ด้วยความเชื่อมั่นว่า เราสามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อ วาน และพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้…
เพราะฉะนั้นหากองค์การใดดำเนินธุรกิจตามแนวคิดของการเพิ่มผล ผลิตข้างต้น ก็จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบในการแข่งขันเนื่องจากต้นทุนต่ำ และสามารถพัฒนา ได้อย่างยั่งยืน



ทำไมต้องเพิ่มผลผลิต
ทำไมต้องใช้หลักการเพิ่มผลผลิตให้วุ่นวายอีก เพราะกิจการที่ทำอยู่ตอนนี้ก็ยังมีกำไรอยู่บ้าง และตอนนี้เศรษฐกิจชะลอตัว บริษัทอื่น ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน…

..เหตุผลที่ต้องทำการปรับปรุงการเพิ่มเพิ่มผลผลิต
1 การเพิ่มผลผลิตจะเป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น ได้ อย่างคุ้มค่าได้ประโยชน์สูงสุดและสูญเสียน้อยที่สุด โดยการเลือกใช้เครื่องมือ หรือเทคนิคการปรับ ปรุงการเพิ่มผลผลิตที่เหมาะสม เช่น 5 ส QCC..
2 นอกจากนี้การเพิ่มผลผลิตยังเป็นเครื่องช่วยในการ วางแผน ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อย่างเช่นการกำหนดผลิตผลในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความ ต้องการ แทนที่จะผลิตออกมาเกินจนเกิดการสูญเปล่าของทรัพยากร..
3 และสาเหตุสำคัญอีกข้อหนึ่งก็ คือ ทุกวันนี้การแข่งขันสูงขึ้น บริษัทต่าง ๆ จะอยู่รอดได้ก็ต้องมีการปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ การเพิ่ม ผลผลิตซึ่งเป็นแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ คุณภาพ และช่วยลดต้นทุน จะทำให้สามารถต่อสู้ กับคู่แข่งได้..

แนวคิดการเพิ่มผลผลิต นอกจากจะช่วยให้องค์การเข้มแข็งและก้าวหน้าในยามเศรษฐกิจดีแล้ว ใน ยามเศรษฐกิจชะลอตัว ก็จะช่วยให้เจ็บตัวน้อยกว่าบริษัทอื่นๆ เรียกว่าช่วยพัฒนาได้อย่างยั่งยืน…



เราจะเพิ่มผลผลิตได้อย่างไร
การเพิ่มผลผลิตจะได้ผลดี ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกคนในองค์การ แตกต่างกันไปตามสถานภาพ
ระดับพนักงาน ก็ต้องทำความเข้าใจเป้าหมายและนโยบายของหน่วยงาน เพื่อจะได้ปฏิบัติงานตรงกับความต้องการหน่วยงาน หมั่นปรับปรุงงานอยู่เสมอ เช่น รู้จักวางแผนและใช้เวลาทำงานให้คุ้มค่า ทำงานอย่างทุ่มเท ปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด มีมนุษยสัมพันธ์ดี เป็นต้น.
ระดับหัวหน้า ก็ต้องมีความเป็นผู้นำ รู้จักสร้างขวัญและกำลังใจให้ลูกน้อง เช่นสอนงานได้ถูกต้อง เป็นที่ปรึกษาที่ดี เปิดโอกาสให้ลูกน้องได้พัฒนาความสามารถ และที่สำคัญต้องพัฒนาความรู้ความสามารถของตัวเองอย่างสม่ำเสมอด้วย...
ระดับผู้บริหาร จะต้องส่งเสริมให้มีการพัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง เป็นกำลังใจให้พนักงาน จัดหาเครื่องมือ-อุปกรณ์ที่เหมาะสม ดูแลลูกค้า ต้องคอยกระตุ้นให้มีการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต และต้องมีความสามารถในการจัดการที่ดี..

หากทุกคนปฏิบัติได้ดังกล่าวก็จะช่วยให้การเพิ่มผลผลิต (Productivity) ในองค์การสูงขึ้นได้



ใครรับผิดชอบการเพิ่มผลผลิต
การปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริหาร หรือใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่หมายถึงความรับผิดชอบของทุกคนในองค์การ โดยผู้บริหารควรเข้าใจและใส่ใจกับการเพิ่มผลผลิตและส่งเสริม สนับสนุนให้ดำเนินกิจกรรมเพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันพนักงานเองก็ต้องให้ความร่วมมือ ทำงานอย่างเต็มความสามารถและเพิ่มทักษะการทำงานให้สูงขึ้น.

..หากทุกฝ่ายสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานได้ ตามแนวคิดในการเพิ่มผลผลิต ย่อมสร้างประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการได้ในที่สุด



P-D-C-A ...วงจรการปรับปรุง
P-D-C-A วงจรการปรับปรุง ซึ่งย่อมาจาก Plan, Do, Check และ Act ..

Plan ก็คือวางแผน วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และกำหนดวิธีแก้ไข

Do คือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ เช่นพัฒนาทักษะ

เมื่อปฏิบัติแล้ว ก็ต้อง Check คือตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ แก้ไขงานน้อยลงหรือเปล่า แล้วบันทึกเพื่อนำไปวิเคราะห์เพิ่มเติมต่อไป

Act คือดำเนินการให้เหมาะสม ถ้าวิธีการใหม่ที่ได้ ใช้ได้ผล ก็ให้ยึดเป็นแนวทางในการทำงานต่อไป และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ แต่หากวิธีการใหม่ที่ได้ ยังไม่ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น ก็ต้องหาทางปรับปรุงต่อไปอีก...

ลองนำไปใช้ดู จะช่วยท่านทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ข่าวทั่วไป

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ผู้เข้าชมทั้งหมด